หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

41)วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ : สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว เพราะนอกจากคำแนะนำจากคนใกล้ตัวที่มีความรู้หรือเป็นกูรูด้านไอทีแล้ว ไหนจะมีข้อมูลตามเว็บ หรือหนังสือคู่มือต่างๆ ที่ทำให้งงมากขึ้น พอไปถึงหน้าร้าน คนขายยิ่งทำให้งงเข้าไปใหญ่ด้วยศัพท์ไอทีที่ไม่คุ้นหู สิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้เป็นอันดับแรกคือ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน พนักงานขาย หรือกูรูด้านไอทีที่เขียนบทความแนะนำต่างๆ เพียงคุณรู้หลักง่ายๆ ต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


52)ลักษณะการใช้งาน : ก่อนที่จะซื้อ Computer คุณควรถามต้วเองก่อนว่า “คุณต้องการนำ Computer มาใช้ทำอะไรบ้าง” คุณเป็นนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือชอบใช้งานเกี่ยวกับมัลติมีเดียต่างๆ เช่นแชทกับเพื่อน ตัดต่อภาพ อัพโหลดเพลง หรือใช้งานไม่ค่อยบ่อย คุณต้องการคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพื่อทำงานอยู่ที่บ้านเท่านั้น หรือโน้ตบุ๊กที่คุณสามารถพกพาไปใช้งานที่อื่นได้ งานอดิเรกที่คุณชอบ รวมทั้งกลุ่มเพื่อนและครอบครัวของคุณ พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อสื่อสารกันด้วยรึเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าคุณจะเป็นคนที่ตอบคำถามข้างต้นได้ดีที่สุด เมื่อได้คำตอบแล้วเราไปดูหลักในการเลือกซื้อข้อต่อไปกันเลย6

  •  ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) : เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD

7

  • เมนบอร์ด (Main Board) : หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, … ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง

8

  • ฮาร์ดดิส (Harddisk) : การเลือก Harddisk มักจะดูที่ความจุเป็นหลัก ส่วนการเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II เกือบทั้งหมดแล้ว อีกอยากที่ควรสนใจคือระยะเวลารับประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5 ปี สำหรับคุณสมบัติอื่น เช่น ขนาด 3.5 นิ้ว ความเร็ว 7,200 รอบต่อวินาที ส่วนยี่ห้อที่นิยมได้แก่ Seagate, Western

9

  • การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิคการ์ด (Graphic C        : การเลือกการ์ดจอให้พิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก กรณีที่ไม่ได้เอาไปเล่นเกมส์ หรือ งานออกแบบ 3 มิติ คุณสามารถเลือกซื้อการ์ดจอธรรมดาๆ มาใช้ได้เลย ส่วนที่ควรสนใจคือ ควรตรวจสอบเรื่องการเชื่อมต่อ (Slot) ว่ารองรับกับMainboard ที่คุณเลือกหรือไม่ เช่น AGP, PCI Express ที่สำคัญคือ ถ้าเมนบอร์ดของคุณมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเลย (สังเกตุได้จากดูว่าเมนบอร์ดมีช่องต่อสายจอให้หรือเปล่า) สำหรับยี่ห้อให้ดูที่ ชิปเซต (Ship Set) ที่นิยมได้แก่ ATi, Nvidia , Intel

10

  • ไดร์ฟ Drive DVD : ควรเลือกซื้อแบบ DVD Writer ส่วนคุณสมบัติอื่นไม่ต่างกันมากนัก ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ส่วนตัวแนะนำให้ซื้อติดเครื่องไว้ จะช่วยให้คุณติดตั้งโปรแกรมได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นเครื่องสำหรับใช้ในบริษัทหลายๆ เครื่องคุณอาจจะซื้อ External DVD Writer มาใช้ตัวเดียวก็พอ

3)ชนิดของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบันนี้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีซีได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเก็บบันทึกข้อมูล การออกแบบ การค้นคว้าหาความรู้ การทำรายงานและเอกสารต่างๆ เป็นต้น ทำให้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางด้านนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้นำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้กับการทำงานของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

• การดูสเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์
• การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
• สิ่งที่ควรทำก่อนการเลือกซื้อ
• ข้อคิดในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
ลักษณะการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้คงจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ

▪ กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเรียกว่า เครื่องแบรนด์เนม [Brand  name] ทั้งแบรนด์เนมของไทยและของต่างประเทศ เช่น Laser, Powell, IBM, Acer, Atec เป็นต้น
▪ กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่ผู้ซื้อเครื่องสั่งประกอบตามร้านคอมพิวเตอร์ เช่น พันธ์ทิพย์พลาซ่า , เสรีเซ็นเตอร์ เป็นต้น
▪ กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มผู้ที่ซื้ออุปกรณ์มาเป็นชิ้นๆ แล้วมาประกอบเองที่บ้าน
การเลือกซื้อในแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ที่เห็นได้ชัดก็มีดังนี้
ชนิดของการเลือกซื้อ
ข้อดี
ข้อเสีย

เครื่องมียี่ห้อ
– มีคุณภาพได้มาตรฐาน
–  การบริการดี
–  มีการรับประกันดี
– ในบางที่จะมีการฝึกอบรมโปรแกรมสำหรับผู้ซื้อเครื่อง
–  มีบริการส่งเครื่องให้ถึงบ้าน และเมื่อเครื่องมีปัญหา บริษัทจะมีบริการส่งช่างไปซ่อมที่บ้าน
–  เครื่องมีราคาสูง
– ไม่สามารถเลือกสเป็ค และยี่ห้อของอุปกรณ์ที่ต้องการได้
–  เวลาสั่งซื้อเครื่อง ต้องรอเครื่องเป็นเวลานานหลายวัน

เครื่องสั่งประกอบ
–  เลือกซื้ออุปกรณ์ หรือปรับเปลี่ยนสเป็คและยี่ห้อได้ตามต้องการ
–  ราคาถูก [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
–  การรับประกัน [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
– การบริการ [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
–  การประกอบเครื่องบางครั้งไม่เรียบร้อย                                                                                               –  การลงโปรแกรมใช้วิธีที่เรียกว่า โคลนนิ่ง มักจะเกิดปัญหาเวลาใช้งาน                                                         –  ถ้าความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพอ อาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ

–  เวลาเครื่องเสีย หรือมีปัญหาต้องยก เครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม          

–  อาจได้สินค้าของปลอม
เครื่องประกอบเอง

–   เลือกซื้ออุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนสเป็ค และยี่ห้อได้ตามต้องการ
–  ไม่เสียค่าประกอบ
–  ราคาถูก [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
–  การรับประกัน [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
–  การบริการ [ ขึ้นอยู่กับทางร้าน ]
–  ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพราะต้องประกอบ เครื่องและลงโปรแกรมเอง
–  ถ้าความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพอ อาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ
–  เวลาเครื่องเสียหรือมีปัญหา ต้องยกเครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม
–  อาจได้สินค้าปลอม

 

ใส่ความเห็น