ผู้ดูแลระบบ

12096481_763467753764939_7548076952211247080_n

นายบัณฑิต บุญโยดม เลขที่ 9

11059290_1634625473425397_923058415595622186_n

นางสาวขวัญสุดา คงทอง เลขที่ 25

11052455_489320344551328_7055562042207673161_n

นางสาวญาณิศา คงวิทยา เลขที่ 27

 

1454763_470870759692369_1884906638_nนางสาวธันยชนก ขวัญดำ เลขที่ 28

10376295_453967841406604_3832323109314760842_n

นางสาวพิมพ์ผกา แต่นสุ่ย เลขที่ 31

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3

โรงเรียนสภาราชินีจังหวัดตรัง

แบบทดสอบการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.กาารสื่อสารข้อมูลหมายถึงอะไร
ก.การโอนหรือแลกเปลี่ยน
ข.การประมวลผล
ค.การรับข้อมูล
ง.ถูกทุกข้อ

2ข่ายการสื่อสารข้อมูลคืออะไร
ก.การถอดรหัส
ข.การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศ
ค.การเข้ารหัส
ง.ช่องสัญญาณ

3.ข้อไหนไม่ใช่องค์ประกอบพิ้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก.หน่วยรับข้อมูล
ข.ช่องทางการส่งข้อมูล
ค.หน่วยรับข้อมูล
ง.สัญญาณครบถ้วน

4.การสื่อสารแบบอนาล็อกและดิจิตอลแบบไหนทันสมัยกว่า
ก.อนาล็อก
ข.ดิจิตอล
ค.ทันสมัยเท่ากัน
ง.มีแบบที่ใหม่กว่าทั้ง 2แบบ

5.(Multipoint or Multidrop) คือการเชื่อมต่อแบบไหน
ก.เชื่อมต่อแบบจุดเดียว
ข.เชือมต่อแบบจุดต่อจุด
ค.เชื่อมต่อแบบหลายจุด
ง.ไม่มีข้อถูกล

6.Message คืออะไร
ก.ผู้รับข้อมูล
ข.ช่องทางการสื่อสาร
ค.ข้อมูลข่าวสาร
ง.ไม่มีข้อถูก

7.computer network คืออะไร
ก.ระบบคมนาคม
ข.สื่อสารข้อมูล
ค.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง.ไม่มีข้อถูก

8.(Receivers) คืออะไร
ก.ผู้ส่งข้อมูล
ข.ข้อมูลข่าวสาร
ค.ผู้รับข้อมูล
ง.ผิดทุกข้อ

9.(Media) คืออะไร
ก.ช่องทางในการสื่อสาร
ข.ผู้รับข่าวสาร
ค.ผู้ส่งข่าวสาร
ง.ข้อมูลข่าวสาร

10.(Switched Network) คืออะไร
ก.การเชื่อต่อแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
ข.การเชื่อมต่อแบบทางเดียว
ค.การเชื่อมต่อแบบ หลายทาง
ค.ผิดทุกข้อ

การสื่อสารข้อมูลหมายถึงอะไร
__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

แบบทดสอบซอฟต์แวร์

1. ซอฟต์แวร์ คือ
ก. โปรแกรมชุดของคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ค. โปรแกรมแก้ปัญหาทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าเสมือนสมองกล

2. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ก. ระบบปฏิบัติการดอส
ข. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์เวิร์ด
ค. ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
ง. ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

3. ชนิดของซอฟต์แวร์ (software) มีทั้งหมดกี่ชนิด
ก. มี 1 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. มี 2 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. มี 3 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล
ง. มี 4 ชนิด 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 3.ซอฟต์แวร์บุคคล 4. ซอฟต์แวร์ บริหาร

4. ซอฟต์แวร์ประมวลคำ คือข้อใด
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

5. ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

6. ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

7. ซอฟต์แวร์นำเสนอ
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software

8. ซอฟต์แวร์สื่อสาร
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. communication software

9. ซอฟต์แวร์นำเสนอ คือข้อใด
ก. Microsoft Excel
ข. Microsoft Access
ค. Microsoft Outlook
ง. Microsoft PowerPoint

10. โปรแกรมวินโดวส์ เป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
ก. ซอฟต์แวร์ระบบ
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ค. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ง. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ

ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

______________________________________________________________________

______________________________________________________________________

______________________________________________________________________

แบบทดสอบเรื่องหลักการทำงานและการเลือกใช้คอมพิวเตอร์

1. ปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่โดยมีขนาดบางและความคมชัดสูง ซึ่งเลือกใช้จอแสดงภาพชนิดใด
ก. CRT.
ข. LCD.
ค. LED.
ง. PLASMA

2. สมชายมีอาชีพเป็นนักสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก เพื่อช่วยในการทำงาน สมชายถือเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับใด
ก. ระดับผู้เล่นเกม.
ข. ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก.
ค. ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง.
ง. ระดับผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ใช้งานมือใหม่

3. กระบวนการในข้อใดเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ก. เช็คสถานะของฮาร์ดแวร์.
ข. โหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลัก.
ค. หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (RAM).
ง. หน่วยประมวลผลกลางประมวลชุดคำสั่งในหน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (ROM)

4. การใช้งานคอมพิวเตอร์ในข้อใด อยู่ในขั้นจัดเก็บข้อมูล
ก. กุ้ง ใช้แป้นพิมพ์ไร้สายพิมพ์รายงาน.
ข. สาว สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต.
ค. ต้อย ใช้เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกพิมพ์ภาพสีลงในกระดาษ A4.
ง. น้ำหวาน บันทึกงานวิจัยเชิงปริมาณลงในแผ่น DVD-R

5. อุปกรณ์รับข้อมูลใดที่สามารถจัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ภาพ
ก. แป้นพิมพ์.
ข. สแกนเนอร์.
ค. ปากกาสไตลัส.
ง. จอภาพแบบไวต่อการสัมผัส

6. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดต่อไปนี้จัดเป็นหน่วยรับเข้าและส่งออก
ก. เมาส์.
ข. ฮาร์ดดิสก์.
ค. จอภาพแบบสัมผัส.
ง. เครื่องบันทึกแผ่นซีดี

7. ข้อใด ไม่มี ระบบการทำงานพื้นฐานแบบคอมพิวเตอร์
ก. เครื่องคิดเลข.
ข. นาฬิการะบบดิจิทัล.
ค. เครื่องฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ.
ง. เครื่องคำนวณร้านสะดวกซื้อ

8. ในการเลือกซื้อแป้นพิมพ์เพื่อการใช้งาน ควรพิจารณาจากสิ่งใด เป็นสำคัญ
ก. ราคาถูก.
ข. มีความสวยงาม.
ค. มีขนาดเล็กกะทัดรัด.
ง. มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งาน

9. ข้อใดเป็นการใช้งานโปรแกรม Google Earth ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
ก. ใช้โปรแกรม Google Earth ค้นหาภาพถ่าย.
ข. ใช้โปรแกรม Google Earth สำรวจถนนเพื่อการเดินทาง.
ค. ใช้โปรแกรม Google Earth สร้างภาพกราฟิกสามมิติ.
ง. ใช้โปรแกรม Google Earth เพื่อช่วยการเรียนการสอนวิชาดาราศาสตร์

10. ถ้าภูผาต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยในการเล่นเกมได้สะดวกกว่าเมาส์ นักเรียนจะแนะนำให้ภูผาซื้ออุปกรณ์ใดแทนเมาส์
ก. จอยสติ๊ก.
ข. แท่งชี้ควบคุม.
ค. ลูกกลมควบคุม.
ง. ไจโรสโคปิก เมาส์

1. คอมพิวเตอร์มีปะโยชน์อย่างไร

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________

2.เพราะเหตุถึงต้องมีการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะซื้อ

_________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge)เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และData Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น

19

เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

20.jpg

สวิตซ์ (Switch)

สวิตซ์ (Switch)คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล

21

ฮับ (HUB)

ฮับ (HUB)หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง

ไคลเอนต์ (Client)

ไคลเอนต์ (Client)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคน

22

ระบบเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

เซิร์ฟเวอร์ (Server)

เซิร์ฟเวอร์ (Server)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

23

  • เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิมการเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ

24

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้


  • ประโยชน์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า  Workgroup  เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร  จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้  เช่น

  1. การใช้ฐานข้อมูลร่วมกันเครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า  บัญชีสินค้า  ฯลฯ
  2. การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น
  3. การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่ายเมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้  การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้
  4. สำนักงานอัตโนมัติแนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ  หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที  โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน  จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว

การใช้งานเครือข่ายยังมีการประยุกต์ได้หลายอย่างตั้งแต่ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม  การใช้ทรัพยากรร่วมกัน  การนัดหมายการส่งงาน  แม้แต่ในห้องเรียนก็ใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เรียกค้นข้อมูลเป็นต้น

การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

ช่องสัญญาณ (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น  เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
              4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
              5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
              6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ    แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด  ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ  เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร  ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น


ข่ายการสื่อสารข้อมูล
            หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

  1. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
  2. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
  3. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย

  1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
  2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  3. เพื่อลดเวลาการทำงาน
  4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
  5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
  6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ ดังนี้

15.jpg

  1. ข่าวสาร (message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้

16.jpg

  1. ผู้ส่ง (sender)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม เป็นต้น
  2. ผู้รับ (receiver) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ โมเด็ม จานดาวเทียม เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  3. สื่อกลางหรือตัวกลาง (media) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น
  4. โพรโตคอล (protocol) เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกัน และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
  5. ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ เช่นMicrosoft Windows XP/Vista/7, Unix , Internet Explorer, Windows Live Message เป็นต้น

17